จอดรถคุยกันสักครู่  มาแวะแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องรถยนต์....

        ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาจอดรถที่นี่ครับ....


                            อ่านดูสักนิด  เพื่อความรู้เล็กน้อยแก่ท่าน

wordpess logo

สาระในเว็บ

เลือกน้ำมันเครื่อง          เทอรโบแปรผัน          เครื่องยนต์หีบเพลง

ดิสเบรกกับดรัมเบรก     เรื่องยาง         

 

    

 
 
Digg del.icio.us co.mments Furl Shadows SphereIt Fleck Internetmedia Technorati

อะไหล่รถยนต์มือสอง
มีทั้งของเก่านำเข้าและของเก่าบ้านเราเอง ถ้าเก่านำเข้าก็ที่เรียกว่าเซียงกง เก่าบ้านเราก็เรียกว่าซากรถ แต่ในความเป็นจริงก็มีที่มาเหมือนกัน คือ ถอดมาจากรถที่หมดสภาพหรือรถที่เกิดอุบัติเหตุ ของที่มาจากนอกจะมีให้เลือกมากมายหลายเวอร์ชั่น จึงเป็นที่นิยมของคนทั่วไปและคนชอบแต่งรถ  ส่วนพวกช่างอาจนิยมหาเก่าบ้านเรา เพราะเขาดูเป็นและได้ของถูกกว่า (อาจดีกว่าของนอก)
การเลือกซื้อก็เหมือนกับตาดีได้ตาร้ายเสีย ก่อนซื้อควรถามผู้ขายก่อนเสมอว่า ถ้าใช้ไม่ได้จะคืนหรือเปลี่ยนได้หรือเปล่า ควรขอใบเสร็จด้วยทุกครั้งที่ซื้อ ที่สำคัญควรจำหน้าคนขายให้แม่น ๆ เพราะบางที่อาจถาม "ซื้อกับใคร" บางครั้งคนขายก็ไม่ใช่คนที่ร้านนะ อาจเป็นบรรดาเด็กวิ่งจับของแถว ๆ นั้น พวกนี้รู้ต้นทุนดีและเจ้าของจะให้เรียกราคาขายเอาเองได้ พวกนี้ได้ทุนต่ำบางครั้งเราต่อรองได้มากกว่าเจ้าของร้านเสียอีก แต่ถ้าของมีปัญหาจะตามยาก (ควรของเบอร์ฯเขาไว้) 
          เซียงกงมีเปิดอยู่หลายที่ นอกจากย่านปทุมวัน ก็ฮิตมากแถว กม.12 บางนา ขนาดดาราที่ชื่นชอบเรื่องรถยังไปเปิดร้านขายอะไหล่กันนะ  กม.17 บางนา ก็เป็นแหล่งซื้อของคนใจเย็น เพราะมีของดี ๆ ซ่อนอยู่แยะ บรรดาร้านต่าง ๆ ก็ไปหาตัดของกันที่นั่น
เซียงกงรังสิตก็มีของเยอะ มีร้านดัง ๆ อยู่หลายร้าน  แถวถนนกรุงเทพ-นนท์ จะเป็นเหล่าช็อบที่พิเศษสำหรับผู้ขับแท็กซี่   ย่านเพชรเกษม-ท่าพระ ก็มีตามถนนและในซอกซอยอีกมากแต่ในซอยจะเป็นโกดังมากกว่าบรรดาพ่อค้าจะไปหาตัดของกัน
              เซียงกงในกรุงเทพฯมีอีกมาก เปิดร้านกันแทบจะทุกถนนซอกซอย บางร้านก็แยกมาจากร้านใหญ่เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ผู้ซื้อมีโอกาสเลือกมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ถ้าใครดูอะไหล่ไม่เป็นก็ควรพาคนที่ดูเป็นไปด้วยจะดีกว่า ซื้อเองถูกกว่าช่างซื้อให้แน่ แต่ถ้าให้ช่างซื้อ ช่างจะดูของได้ดีกว่าและรับผิดชอบให้เราด้วย อะไหล่เก่านำเข้าบางอย่างก็ผิดรุ่นรถบ้านเรา
              อะไหล่เก่าในบ้านเราก็หาซื้อได้ตามป่าช้ารถ หรือซื้อมาทั้งคันก็ได้ถ้าตรงรุ่นกับรถเรา เป็นที่นิยมสำหรับช่างและคนชอบเล่นรถเก่า
อะไหล่ที่หาซื้อยาก ตามป่าช้ารถมักจะมีให้เราซื้อ ในกรุงเทพฯก็มีเปิดอยู่หลายที่ ที่ถนนสายไหมนั่นก็ย้ายไปจากรามอินทรา กม.7 และมีโกดังใหญ่อยู่ใกล้ ๆ กัน  แถวประชาชื่นก็มีอะไหล่หายากอยู่เยอะและยังมีซากรถที่ใช้ในการเข้าฉากเอ็คชั่นมาขายทิ้งถูก ๆ ด้วย  ที่เห็นมีมาก ๆ ก็เป็นแถบนครปฐมหรือราชบุรี แถวนั้นมีให้เลือกมากมายจริง ๆ

เลือกน้ำมันเครื่อง

               เคยสงสัยบ้างไหมครับ ว่าเบอร์ที่อยู่ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องมันเกี่ยวอะไรกับรถของเรา

มันเกี่ยวมากเลยนะครับ ทำให้เครื่องพัง-เทอรโบเจ๊งมาเยอะแล้ว ก็เพราะเบอร์นี่แหละ  เดี๋ยวนี้บ้านเรามีเบอร์น้ำมันเครื่องให้เลือกน้อยมาก แม้แต่ตามสถานที่บริการก็ยังใช้เกรดรวมเลย (ง่ายดี) คนขายก็บอกว่าดีใช้ได้หมดกับเครื่องทุกประเภท (อะไรจะดีปานนั้น)ถ้ามีให้เลือกก็ควรเลือกครับ โดยเฉพาะเครื่องที่มีเทอรโบ  เบอร์เช่น 15-20 W  เบอร์หน้าเป็นค่าความเหลวตอนน้ำมันเครื่องเย็นครับ  เบอร์หลังเป็นความข้นเหนียวตอนเกิดความร้อน จะสิ้นสุดที่เบอร์หลัง  บ้านเราที่ไม่ได้อยู่บนดอยหรือเขาค้อตื่นเช้ามาอุณหภูมิก็เกิน 10 องศา แล้วนะครับ บางวันยังไม่ทันสตาร์ทรถเลยก็ปาเข้าไป 20 องศาแล้ว รถยนต์ที่ใช้เทอรโบจำเป็นต้องเลือกใช้เบอร์หลังให้สูงเข้าไว้นะครับ เพราะเทอรโบอาศัยน้ำมันเครื่องช่วยหล่อลื่นแกนของใบพัดเทอรโบ ถ้าน้ำมันเครื่องหมดความเหนียวเป็นเวลานาน ๆ แกนใบพัดก็จะสึกหรอและหลวมในที่สุด ที่นี้ก็จะเกิดควันขาว ๆ พ่นออกมาจากท่อไอเสีย  และพยายามอย่าใช้น้ำมันเครื่องเกรดรวมนะครับ (รวมก็คือมั่วหาเบอร์ไม่เจอ) เดี๋ยวหาซื้อเบอร์หลังสูง ๆ ยากมาก มีเป็นบางยี่ห้อ เครื่องเทอรโบเบอร์หลังยิ่งสูงยิ่งดีครับ รถเครื่องธรรมดาไม่ต้องเน้นเท่าไหร่แต่ควรเลือกเบอร์เช่นกัน ดูที่พื้นที่เราอาศัยอยู่ด้วยนะครับ เชียงใหม่หรือเขาค้อ ต่างจากกรุงเทพฯมากนะครับ  บนดอยหน้าหนาวตอนตื่นมาอากาศไม่ถึง 10 องศา ถ้าเบอร์หน้ามากไปตอนสตาร์ทรถใหม่ ๆ น้ำมันเครื่องจะขึ้นมาหล่อเลี้ยงเครื่องไม่สะดวก อาจได้ยินเสียงเหล็กบดกันดังต็อกแต็ก พอร้อนก็จะเงียบไป แสดงว่าใช้ผิดเบอร์แน่ แล้วก็เกิดการสึกหรอไปมากพอดู  การถ่ายน้ำมันเครื่องก็ควรถ่ายบ่อยจะดีกว่า การใช้แบบสังเคราะห์ก็ดีอยู่ แต่ระยะเวลาที่ใช้นานเกินไปก็ย่อมมีความสกปรกภายใน ควรเปลื่ยนไส้กรองตามระยะปรกติ แต่เลือกถ่ายบ่อยดีกว่าครับ เพราะใหม่และสดอยู่เสมอ


ยางครับยาง

              ยางเล็กหรือยางใหญ่ ก็ต้องเติมลมเพื่อสร้างแรงดันภายในยางเหมือนกัน

ยางขนาดใหญ่ก็ต้องเติมลมเข้าไปมากเพื่อสร้างแรงดัน ยางเล็กพอเติมเข้าไปนิดเดียวก็ได้แรงดันแล้ว ค่าแรงดันที่เติมกันอยู่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 28-32 เป็นส่วนใหญ่ รถขับเคลื่อนล้อหลังก็ควรเติมลมให้มากกว่าล้อหน้าสัก 2 ปอนด์ เพราะล้อหลังต้องรับภาระในการขับเคลื่อน รถขับเคลื่อนล้อหน้าก็เติมลมมากกว่าล้อหลังสัก 2 ปอนด์ เช่นกัน หมั่นตรวจสอบสภาพของแก้มยางและหน้ายางอยู่เสมอ ใช้เล็บจิกดอกยางดูบ้างว่าแข็งจนหยิกไม่ลงแล้วหรือยัง หรือถ้าเลี้ยวดังเอี๊ยดดอกยางคงตายแล้ว ถ้ายางผิดปรกติไปก็ควรเปลี่ยนนะครับมันอันตราย เปลี่ยนที่ละคู่ก็ได้แต่อย่าเปลี่ยนเดี่ยวนะครับเดี๋ยวมันไม่บาลานท์กัน รถที่ซื้อมาใหม่ก็อย่าใช้ยางที่ติดรถมาให้นานเกินไป เพราะไม่รู้ว่าเขาใส่ไว้นานแค่ไหนแล้วกว่าที่เราจะไปซื้อมา  ยางหม้อน้ำก็เหมือนกันนะครับ ถ้ามันเก่าก็เปลี่ยนไปเถอะ เส้นละร้อยขึ้น แต่เราไม่เสี่ยงจะดีกว่า  

               เวลาขับรถมาจอดที่บ้านหรือที่ไหน ก็หมั่นก้มมองตามใต้ท้องรถดูบ้าง ว่ามีอะไรรั่วหรือหยดลงมาบ้างไหม ถ้าเป็นน้ำที่หยดลงมาจ่ากท่อน้ำทิ้งของระบบแอร์ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นระบบน้ำจากหม้อน้ำนั้นอันตรายมาก รวมถึงสังเกตุการรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง-น้ำมันเกียร์-เฟืองท้าย-น้ำมันเบรก  


ทำไมต้องเทอรโบแปรผันกับรถปัจจุบัน

                   เทอรโบแปรผัน ก็คือการนำเทอรโบ 2 ลูก มารวมให้เป็นลูกเดียวกันนั่นเอง

เป็นความฉลาดของผู้คิดค้นครับ และอนาคตก็จะใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ระบบหีบเพลงด้วย (อ่านต่อจากบทนี้) เทอรโบแปรผันคือลูกเดียวแต่ทำงานได้ 2 ระดับ  เมื่อรอบเครื่องยนต์เป็นรอบต่ำหรือในรอบต้น ใบพัดเทอรโบก็ยังทำงานแบบปรกติ หรือเป็นลูกเล็กอัดอากาศได้ไว มีบูทมาเร็วทันใจดี แต่พอรอบสูงขึ้นก็จะหมดแรงอัดตามนิสัยของเทอรโบลูกเล็ก แต่เมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้นจะทำให้ครีบพิเศษที่ล้มตัวนอนแหมะอยู่ขยับตัวลุกขึ้นมาตามแรงบูทหรือระบบไฟฟ้าในบางรุ่น ทำให้สามารถตวัดตักตวงอากาศอัดเข้าสู๋กระบอกสูบได้มากขึ้น หรือเปรียบเสมือนเทอรโบใหญ่ขึ้นนั่นเองครับ ข้อดีคือไม่ต้องติดตั้งเทอรโบ 2 ลูกให้เกะกะพื้นที่ในห้องเครื่อง ข้อเสียก็คือไม่สามารถทำการโมดิฟายใบพัดเทอรโบด้านไอดีได้ แต่ก็ยังพอโมดิฟายใบพัดด้านไอเสียได้อยู่บ้าง  ส่วนในรถบัสหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่รวมถึงเครื่องยนต์เรือ จะนิยมใช้ระบบลูกเล็กอัดเข้าลูกใหญ่มากกว่า (ใช้ 2 ลูก) ระบบนี้ยังใช้กับรถแข่งควอเตอร์ไมล์ด้วยในบางรุ่น  รถยนต์รุ่นใหม่ที่ติดตั้งเทอรโบมาจากโรงงานใช้ระบบเทอรโบแปรผันกันหมดแล้วครับ พูดถึงเทอรโบแล้วก็ต้องขอบคุณนักเรียนไทยในต่างแดนท่านหนึ่งครับ ท่านมีส่วนร่วมในการคิดค้นระบบเทอรโบยุคแรก และเราก็ได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้


เครื่องยนต์หีบเพลง

               เป็นการทำงานผ่านกลไกที่เชื่อมต่อระหว่างเสื้อสูบกับฝาสูบให้มีการขยับตัวขึ้นลงได้ตามรอบเครื่อง

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานที่รอบต่ำ ไมจำเป็นต้องใช้อากาศเข้าไปจุดระเบิดมากมายอะไร น้ำมันก็ประหยัดไปด้วยเพราะระบบหัวฉีดจะจ่ายน้ำมันจากการคำนวนปริมาณอากาศที่ไหลผ่านเข้าไปในท่อร่วมไอดีอีกส่วนก็คำนวนจากรอบเครื่องและจุดอื่น ๆ ด้วย 

               พูดอีกทางหนึ่งก็คือ ระบบหีบเพลงจะรวมเครื่องยนต์ 2 เครื่องไว้ในเครื่องยนต์เดียว เช่นเดียวกับเทอรโบแบบแปรผัน

เมื่อเครื่องยนต์มีความจุซ๊ซีน้อยก็ย่อมประหยัดน้ำมันนั่นหมายถึงเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถเบ่งตัวมันเองให้ใหญ่ขึ้นได้เหมือนกับอึ่งอ่าง แต่ถ้าใช้เครื่องยนต์ใหญ่ความจุเยอะก็กินน้ำมันมันเมื่อต้องใช้งานที่รอบต่ำ ทำให้มีผู้คิดค้นเครื่องยนต์ที่สามารถเพิ่มหรือลดความจุของเครื่องยนต์ได้แบบ 2 in 1 (ผู้คิดค้นได้เสียชีวิตนานแล้วครับ ท่านเป็นหัวหน้าทีมวิศวะและหุ้นส่วนค่ายรถ " S " )

 เมื่อเครื่องยนต์หีบเพลงนี้ทำงานในรอบสูงกลไกก็จะยกฝาสูบให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มความจุให้กับกระบอกสูบรวมถึงรองรับอากาศที่อัดมาจากเทอรโบได้มากขึ้น (ถ้ามีเทอรโบก็เป็นผลดีแบบมหาศาล) เมื่อเครื่องยนต์มีรอบต่ำลงกลไกก็จะลดฝาสูบให้ลดต่ำลงมาตามเดิม ระบบนี้จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับเทอรโบแปรผัน เพราะการทำงานสอดคล้องกันแบบ 100% ไม่ขาดไม่เกิน  

                     ขอเสริมอีกนิด  ระบบเหล่านี้ออกแบบมาสำหรับคนใช้รถแบบบ้าน ๆ อย่างเรา เพราะเราจะได้รับความคุ้มค่าจากการใช้งานแบบ 100% แต่สำหรับกลุ่มรถแต่งรถแรงทั้งหลายถือว่าไม่จำเป็น เพราะเขาไม่เน้นคำว่าต่ำ แต่มุ่งไปที่ความแรงและเร็วต้องมีเหลือไม่ใช่หมดหรือไม่พอ

ดิสเบรกกับดรัมเบรก

                 บางท่านยังสงสัยอยู่ว่า ไอ้ดิสเบรกกับดรัมเบรกมันดีกว่ากันยังไง

ก็ดีทั้งสองอย่างนะครับ แต่มันดีกันคนละอย่าง และต้องใช้ให้ถูกประเภทด้วยครับ  ไม่ใช่รถอะไรก็ใช้ได้หมด

มาพูกถึงข้อดีข้อเสียของทั้งสองอย่างดีกว่า  ระบบดิสเบรกคือมี่จานเบรกแบบเปลือย มีผ้าเบรกประกบอยู่ด้านนอก ผ้าเบรกทำงาน

จับตัวแบบหนีบกดกับจานเบรก (แบบเบรกก้ามปูจักรยาน) ข้อดีคือมันระบายความร้าอนได้เร็วเพราะสัมผัสกับอากาศอยู่ตลอดเวลา

และจับตัวได้เร็วและรีดน้ำได้ไวเวลาลุยน้ำ ข้อเสียคือไม่เหมะกับรถที่ใช้งานแบบบรรทุกสิ่งของ

ส่วนดรัมเบรกมีข้อดีตรงที่มีหน้าสัมผัสของผ้าเบรกที่มากกว่าแบบดิสเบรก การจับตัวมั่นคงกว่า เหมาะสำหรับรถที่ต้องบรรทุกน้ำหนัก

ข้อเสียที่เห็นได้ชัดก็คือ มันระบายความร้อนได้ไม่ดี เพราะผ้าเบรกถูกซ่อนอยู่ด้านในโดยมีจานเบรกเป็นลักษณะถ้วยครอบอยู่

เมื่อต้องวิ่งรถเปล่า อย่างเช่นรถกระบะท้ายเบา เมื่อเบรกกระทันหันท้ายรถจะเสียอาการง่าย ข้อเสียอีกอย่างคือมันจับตัวได้ช้า

เดี๋ยวนี้คนไทยเขาผลิตชุดดิสเบรกหลังออกมาจำหน่าย และสามารถใส่แทนดรัมเบรกของเดิมได้เลย คุณภาพของไทยเราบอกได้

เลยครับว่าดีกว่าของนอกครับ แต่ก่อนติดตั้งให้คุยรายระเอียดกับช่างให้ชัดเจนนะครับ ว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไร

อีกข้อที่เราควรถามช่างมาก ๆ ก็คือ ระบบแรงดันของเบรกหลัง  เพราะดรัมเบรกกับดิสเบรก ใช้แรงดันผ่านวาวล์ไม่เท่ากันนะครับ

ถ้าไม่แก้ไขให้เรา ระวังจะเบรกไม่อยู่นะครับ อย่าไปเชื่อถ้าช่างบอกว่า ใช้ได้เลยไม่ต้องทำอะไร หรือ เดี๋ยวระบบมันจะปรับให้เอง

หรือ รถคุณมี ABS อยู่แล้วไม่มีปัญหา  ช่างที่พูดลักษณะนี้คือช่างที่ไม่มีประสบการณ์พอหรือไม่ก็ขี้เกียจทำกลัวค่าใช้จ่ายเพิ่ม

เตือนอีกครั้งนะครับ ถ้ารถเราต้องใช้บรรทุกสิ่งของเป็นประจำ ไม่แนะนำให้เปลี่ยนจากดรัมเบรกเป็นดิสเบรกครับ 

(Root) 20081218-929-65687.jpg

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...